AHA BHA คืออะไร เลือกอย่างไร

 

AHA BHA จัดอยู่ในกลุ่มประเภท Exfoliate acid ถูกใช้เป็นสารผลัดเซลล์ผิว (Peeling) ที่ออกฤทธิ์อย่างอ่อนโยน

 

 

          สารประเภทผลัดเซลล์ผิว กลายเป็นส่วนสำคัญของระบบความงามของเราอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความสามารถที่พิสูจน์แล้วว่า มีส่วนช่วยในการผลัดผิวใหม่ โดยไม่ทำร้ายผิว ซึ่งแตกต่างกับการใช้เครื่องขัดผิว หรือการใช้ “สครับ” แบบนั้นจะสร้างความเสียหายให้กับผิวได้ค่ะ

          สารผลัดเซลล์ผิว AHA และ BHA มีกลไกเพื่อออกฤทธิ์ Alpha hydroxy acids (กรดอัลฟ่าไฮดรอกซี) – AHAs เพื่อขจัดการสร้างเซลล์ผิวที่ตายแล้วบนผิว (หรือเรียกว่า “ขี้ไคล”) ให้หลุดออกง่ายขึ้น ส่งผลให้ผิวเรากระจ่างใสสว่างขึ้น  ผิวเรียบเนียนขึ้น อีกตัวนคง คือ  Beta hydroxy acids (กรดเบต้าไฮดรอกซี) – BHAs ลงลึกไปเข้าไปถึงข้างในรูขุมขนเพื่อ ลดการอุดตัน ทำความสะอาดสิ่งสกปรกในรูขุมขน จึงคาดหวังผลในด้านช่วยขจัดสิวได้

          แต่สารทั้ง 2 นี้ ถูกออกแบบมาเพื่อออกฤทธิ์กับสภาพผิวที่แตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่าง ระหว่าง AHA และ BHA คือโครงสร้างทางเคมีของสารประกอบทั้งสองนี้ ดังนั้น ถ้าหากเราเลือกไม่เหมาะสมกับสภาพผิว หรือใช้ผลิตภัณฑ์อย่างไม่ถูกต้อง สารผลัดเซลล์ผิวเหล่านี้อาจส่งผลตรงกันข้ามกับความคาดหวังของเราได้เลยค่ะ

 

AHA exfoliant คืออะไร?

          AHA ย่อมาจาก Alpha hydroxy acid กรดอัลฟ่าไฮดรอกซี เป็นกรดที่สกัดได้จากพืช ผลไม้ เป็นส่วนใหญ่ แต่มีบางชนิดที่ผลิตด้วยส่วนใดส่วนหนึ่งจากสัตว์ AHA จะผลิตโดยวิธีการสังเคราะห์ทางเคมี ขึ้นมา เช่น Glycolic (ไกลโคลิก), Mandelic (แมนเดลิก) และ Citric acid​ (กรดซิตริก) เรามักพบได้ในผลิตภัณฑ์ ประเภท โทนเนอร์ เซรั่ม มาร์คทรีตเม้นท์ โฟมล้างหน้า คลีนซิ่ง คลีนเซอร์ หรือ ผลิตภัณฑ์สำหรับผลัดเซลล์ผิวต่างๆ

          AHA สามารถละลายน้ำได้ ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถซึมผ่านน้ำมันธรรมชาติของผิวหนังได้ ด้วยคุณสมบัตินี้ จึงนำไปใช้การผลัดเซลล์ผิว หรือ ปรับโทนสีผิว ลดความหมองคล้ำ ลดรอยสิว จุดด่างดำให้จางลง AHA บางชนิด เช่น กรดแลคติก (Lactic acid) ยังเป็นสารที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิวได้ค่ะ

          AHA ยังมีข้อควรระวัง! ในการใช้ร่วมกับสกินแคร์ตัวอื่นๆด้วยนะคะ ให้หลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่มีวิตามินซีและเรตินอล เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของผิวหนังที่ถูก การกระตุ้นมากเกินไป อาจทำให้เกิดการระคายเคืองในทันทีและผิวได้รับความเสียหายได้ค่ะ

          ทั้งนี้ ยังมีเรื่องของช่วงเวลาปลดปล่อยของสาร หากจำเป็นต้องใช้ร่วม ที่ผู้ใช้ควรศึกษาเพิ่มเติม

 BHA exfoliant คืออะไร?

          BHA ย่อมาจาก Beta hydroxy acid กรดเบต้าไฮดรอกซี สารประเภท BHA เดียวที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวคือ Salicylic acid  

          BHA จะแตกต่างจาก AHA ตรงที่ BHA สามารถละลายในน้ำมันได้ หมายความว่า สารประเภท BHA จะออกฤทธิ์ซึมลึกเข้าไปถึงในรูขุมขน ช่วยทำความสะอาดและละลายความมันส่วนเกินที่สะสมอยู่ได้ผิวได้  ดังนั้น หากเรามีสภาพผิวมัน ผิวเป็นสิวง่าย กรดซาลิไซลิกคือ ตัวเลือกในการรักษาที่ดีค่ะ

 

AHA/BHA ช่วยอะไร?

    • ลดการอักเสบของสิว และปัญหาผิวอื่นๆ
    • ลดรูขุมขนกว้างให้กระชับขึ้น
    • ลดริ้วรอยบนผิวชั้นบน
    • ปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ
    • ปรับปรุงสภาพผิวโดยรวมให้เรียบเนียน
    • ขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว
    • ลดการอุดตันในรูขุมขน ป้องกันการเกิดสิว

 

วิธีผลัดเซลล์ผิวที่ปลอดภัย

          ปัจจุบันพบว่า ผู้คนหันมาสนใจและเลือกใช้สกินแคร์ประเภทผลัดเซลล์เป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการดูแลผิว แตเราพบว่ายังมีอีกหลายคนเลยที่ลืมนึกถึงไปว่า การใช้สารผลัดเซลล์ผิวที่มากเกินไป หรือใช้ไม่ถูกวิธี มีผลเสียเกิดขึ้นกับผิวของเราแน่นอนค่ะ

          การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นกรดในการผลัดเซลล์ผิวปริมาณความเข้มข้นที่มากเกินไป หรือใช้บ่อยเกินความจำเป็น ก็สามารถทำลาย stratum corneum สตราตัม คอร์เนียม ซึ่งเป็นชั้นนอกสุดของผิวหนังกำพร้า หรือที่เรียกว่าเกราะป้องกันผิวหนัง (skin barrier) ได้

          หน้าที่หลักๆ ของเกราะป้องกันผิว หรือ Skin Barrier คือ การกักเก็บความชุ่มชื้นของผิวไว้ภายใน ไม่ให้ออกมาสู่ภายนอกผิวได้ และยังทำหน้าที่ปกป้องผิวจากสิ่งต่างๆที่อาจทำร้ายผิวของเราได้ เช่น มลภาวะ ฝุ่น ควัน ละออง PM2.5 ไม่ให้เข้าสู่ผิวหนังของเราได้ค่ะ

          หากเราผลัดเซลล์ผิวบ่อยหรือความเข้มข้มสูงมากเกินไป ทำลายเกราะป้องกันผิวหนังให้อ่อนแอลง ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ มากมาย เช่น การระคายเคือง อาการคัน ผิวหนังแสบแดง ผิวอักเสบ ผิวแห้งลอกเป็นขุย หรือแม้กระทั่งเกิดอาการไหม้บนผิวหนัง เกิดสิวผด ผื่นคัน ได้เช่นกันค่ะ นอกเหนือจากนี้ ยังทำให้ชั้นผิวบางลง ส่งผลให้รังสียูวีในแสงแดด ทำร้ายผิวได้มากขึ้น ทำให้เราเกิดผิวคล้ำขึ้น เกิดริ้วรอย ผิวเหี่ยวย่น ผิวแก่ก่อนวัยได้ค่ะ

 

AHA และ BHA ใช้ร่วมกันได้ไหม?

          ปัจจุบัน มีการนำ AHAและBHA มาผสมในสูตรไว้ในผลิตภัณฑ์ตัวเดียวกันได้ ทาง R&D ต้องมีความเชี่ยวชาญในการคำนวณสูตรและต้องวัดค่า pH ให้ออกฤทธิ์กับผิวได้และปลอดภัยต่อผิว  ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี AHA กับ BHA ที่เป็นสกินแคร์คนละตัวมาใช้ทับซ้อนกันซึ่งอาจก่อให้ระคายเคืองกับผิวได้

          แต่เพื่อความปลอดภัยกับผิว ควรใช้เป็นตัวใดตัวหนึ่งให้เหมาะกับสภาพผิวของเรานะคะ

 

เปอร์เซ็นต์เข้มข้นสูงไม่ใช่เครื่องการันตีผลลัพธ์ ควรให้ความสำคัญที่ pH

          ผู้ผลิตมักเอาตัวเลขมาใช้ในการโฆษณาเพื่อบ่งบอกถึงคุณภาพ ทำให้ผู้ใช้หรือผู้บริโภคที่ไม่เข้าใจกลไกของสารเหล่านี้ ตัดสินใจเลือกใน ตัวเลขที่สูง นั่นหมายถึง เรากำลังไปเลือกสารผลัดเซลล์ผิวที่มีความเข้มข้นสูงเกินความจำเป็นของผิวหนังเราได้ค่ะ

          ค่า เปอร์เซ็นต์ไม่ใช่ทุกอย่างค่ะ แทนที่เราจะไปสนใจกับเปอร์เซ็นต์อย่างเดียว สสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ทีสำคัญคือ  ค่า pH ของสูตรในผลิตภัณฑ์ตัวนั้นค่ะ

          ค่า pH นั้นเป็นตัวชี้วัดว่าผลิตภัณฑ์มีความเป็นกรดหรือด่างมากน้อยเพียงใด เหมาะสมกับสภาพผิวหนังของเราหรือไม่ เช่น pH 1 เป็นกรดสูง และ pH 14 เป็นด่างสูง ซึ่ง น้ำสะอาดปกติเราจะวัดได้ว่ามีค่า pH เท่ากับ 7 และผิวของเราจะมีค่า pH อยู่ทางด้านกรดเล็กน้อยค่ะ โดยมีค่า pH อยู่ที่ประมาณ 4-6 นั่นเอง

 

 

วิธีการเริ่มต้นใช้สารผลัดเซลล์ผิว AHA และ BHA

          เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์กรดขัดผิวใดๆ หากใครที่มีผิวที่ไวต่อการระคายเคืองหรือแพ้ง่าย แนะนำทดสอบก่อนใช้ เช่น ใช้ที่ข้อมือหรือหลังใบหู และดูว่าผิวเปลี่ยนแปลงอย่างไรหลังจากใช้ทันที และเมื่อใช้ไปแล้ว 24 ชั่วโมง

          หากการทดสอบครั้งแรกผ่านไปด้วยดี ให้ค่อยๆ ใช้ผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิวร่วมเป็นขั้นตอนหนึ่งในการดูแลผิว โดยใช้ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และจากนั้นค่อยปรับมาใช้เป็นประจำทุกวัน หากผลิตภัณฑ์นั้นถูกออกแบบให้ใช้สำหรับทุกวันนะคะ

          เริ่มต้นด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดที่มีโมเลกุลที่ใหญ่ เพราะกรดชนิดนี้จะซึมเข้าสู่ผิวเราได้ช้ากว่าและระคายเคืองน้อยกว่า กรดแลคติก เหมาะสำหรับกับมือใหม่ แต่กรดไกลโคลิกมีขนาดโมเลกุลค่อนข้างเล็กจะซึมเข้าสู่ผิวได้เร็วกว่า จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้รู้สึกแสบร้อนและอาการคันยิบๆบนผิวได้ค่ะ

          การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มี AHA/BHAs ตัวใดตัวหนึ่ง อยู่ในขั้นตอนดูแลผิวเพื่อคาดหวังผลในด้านผลัดเซลล์ผิวได้ดีและปลอดภัยต่อผิวหนัง สิ่งสำคัญคือต้องปกป้องผิวอย่างเพียงพอ การทาครีมกันแดดที่มี SPFอย่างน้อย 30 ขึ้นไปเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้นะคะ   

 

AHA จึงเหมาะกับสภาพผิวแห้ง หรือผู้มีปัญหา ฝ้า กระ จุดด่างดำ รอยสิว ผิวหมองคล้ำ

BHA จึงเหมาะกับสภาพผิวมัน ผิวเป็นสิว

แนะนำผลิตภัณฑ์ช่วยผลัดเซลล์ผิว

  • PAULA’S CHOICE – Skin Perfecting 2% BHA Liquid Exfoliant
  • THE INKEY LIST – Alpha Hydroxy Acid (AHA) Serum
  • MuradAHA/BHA Exfoliating Cleanser
  • Dr. Dennis Gross Alpha Beta Universal Daily Peel
  • SkinCeuticals – Micro-Exfoliating Scrub
  • Neutrogena – Hydro Boost Exfoliating Cleanser
  • CeraVe – Salicylic Acid Cleanser
  • The Ordinary – AHA 30% + BHA 2% Peeling Solution
  • COSRX AHA/BHA Clarifying Treatment Toner
  • OLEHENRIKSEN – Cold Plunge Pore Remedy Moisturizer with BHA/LHA
  • Banila Co – Clean It Zero Cleansing Balm Tri peel Acid pore clarifying

 

 

 

SOURCE
  • Tasleem Arif, Salicylic acid as a peeling agent: a comprehensive review, Clin Cosmet Investig Dermatol. 2015; 8: 455–461. doi: 10.2147/CCID.S84765
  • Yin Gao et al., A Low Molecular Weight Hyaluronic Acid Derivative Accelerates Excisional Wound Healing by Modulating Pro-Inflammation, Promoting Epithelialization and Neovascularization, and Remodeling Collagen,Int J Mol Sci. 2019 Aug; 20(15): 3722. doi: 10.3390/ijms20153722
  • Mayoclinic, Over-the-counter acne products: What works and why, Site :https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acne/in-depth/acne-products/art-20045814?pg=2
  • W P Smith, Comparative effectiveness of alpha-hydroxy acids on skin properties,Int J Cosmet Sci
    . 1996 Apr;18(2):75-83. doi: 10.1111/j.1467-2494.1996.tb00137.x.
  • FDA, Alpha Hydroxy Acids, Site: https://www.fda.gov/cosmetics/cosmetic-ingredients/alpha-hydroxy-acids.
  • AAD, Aging skin and skin care products. (n.d.), Site: aad.org/media/stats/cosmetic-treatments
  • Tran D, et al., (2015). An antiaging skin care system containing alpha hydroxy acids and vitamins improves the biomechanical parameters of facial skin. Site: ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4277239/
  • Zheng Y, et al., (2013). Clinical evidence on the efficacy and safety of an antioxidant optimized 1.5% salicylic acid (SA) cream in the treatment of facial acne: An open, baseline-controlled clinical study. DOI:
    10.1111/srt.12022
  • Abels C, et al., (2011). A 10% glycolic acid containing oil-in-water emulsion improves mild acne: A randomized double-blind placebo-controlled trial. DOI:
    10.1111/j.1473-2165.2011.00572.x
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © SISTER NAN All rights reserved.