เราควรเลือกใช้ สกินแคร์ กับค่า pH ที่เท่าไรดี

ผิวหนังของคนเราจะมีสภาพแวดล้อมที่ประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ ที่อาศัยอยู่บนผิวของเรา นั่นก็คือ จุลินทรีย์ที่ดี ที่ช่วยทำหน้าที่รักษาสมดุลบนผิวหนังเราได้ด้วยค่ะ สิ่งแวดล้อมบนผิวหนังของเรา หรือ Skin microbiome สกิน ไมโครไบโอม เป็นระบบนิเวศบนผิวหนัง ที่เปรียบเสมือนโลกใบหนึ่ง

ที่นอกเหนือจากจุลินทรีย์ที่ดีแล้ว ยังมี จุลินทรีย์ที่ไม่ดี หรือ แบคทีเรียที่ไม่ดี ซึ่งสกิน ไมโครไอโอมสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอด หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น แสงแดด ความร้อน อุณหภูมิ พฤติกรรมต่างๆของเรา และสกินแคร์รูทีนที่เราใช้กันอยู่ค่ะ 

ยกตัวอย่างง่ายๆ แค่ล้างหน้า ผิวเราก็เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วค่ะ ซึ่งในปัจจุบันเราพบว่า pH ในสกินแคร์เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของผิวทั้งในด้านที่ดี หรือ ไม่ดี ที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผิวแย่ลงได้ค่ะ

 

ค่า pH คืออะไร?

        คำว่า “pH” ย่อมาจาก Positive potential of the Hydrogen ions หมายถึง “ศักย์ของไฮโดรเจน” คือ การวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับไฮโดรเจนไอออน (ไอออนคือโมเลกุลที่มีประจุบวกหรือลบ) ในสารละลายที่เป็นน้ำหรือของเหลว ไฮโดรเจนประกอบด้วยน้ำสองในสาม น้ำเป็นโมเลกุลไฮโดรเจนสองโมเลกุล บวกกับโมเลกุลออกซิเจน H²o

       ค่า pH ของสารละลายจะแสดงด้วยมาตราส่วนตัวเลข ตั้งแต่ 0-14 สิ่งใดที่ต่ำกว่า 7 ถือว่าเป็นกรด ในขณะที่สิ่งใดที่มีค่า pH มากกว่า 7 จะถือเป็นด่าง แต่ถ้ามีค่า pH เท่ากับ 7 มีสภาพเป็นกลาง แสดงว่า ไม่มีค่าเป็นกรดหรือด่างค่ะ ยกตัวอย่างเช่น น้ำมะนาวมีค่า pH 2—มีความเป็นกรดมาก เป็นต้นค่ะ

      อุปกรณ์วัดค่า pH ก็มีหลายวิธี เช่น การเปรียบเทียบสี ด้วยกระดาษลิตมัส ซึ่งในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมแล้ว แต่ถือว่าเป็นวิธีที่สะดวกและง่าย แต่มีความแม่นยำต่ำกว่า อีกวิธีนึงก็คือ วิธีวัดความต่างศักย์ไฟฟ้า จะมีเครื่องมือและอุปกรณ์การวัด (pH meter) และแปลงค่าออกมาเป็นตัวเลข เช่น การวัดค่า pH ของน้ำ การวัดค่า pH ของดิน

 

pH บนผิวหนังคือะไร

          ผิวหนังของแต่ละคนไม่เท่ากันค่ะ ซึ่งพบว่า ผิวหนังของคนเรามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.7 และผิวของผู้ชายมักจะมีความเป็นกรดมากกว่าผิวของผู้หญิง และถึงแม้ว่าค่า pH ของผิวของเราสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นตามอายุ แต่ก็ยังคงเป็นกรดอยู่ เมื่อเราเกิดมาในวัยทารา ผิวของเรามีค่า pH เป็นกลางซึ่งจะกลายเป็นกรดภายในสองสามสัปดาห์แรกเกิดค่ะ

        งานวิจัยที่รวบรวมข้อมูลว่า ผิวหนังคนเรามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.7

        ผิวหนังชั้นบนสุดของเรา เปรียบเสมือนเป็นเสื้อคลุมร่างกาย ที่มีค่าความเป็นกรด ที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานร่วมกับส่วนผสมจากธรรมชาติของผิว เช่น เซราไมด์ โคเลสเตอรอล เอนไซม์ เหงื่อ และแม้กระทั่งน้ำมันในผิวของเราเองค่ะ มีหน้าที่เพื่อปกป้องผิวและชั้นล่างจากภัยคุกคามภายนอก เช่น มลภาวะ ฝุ่น ควัน ละออง มลพิษ แสงแดด ฯลฯ

        ค่า pH ที่เป็นกรดของผิวหนังของเรา ยังมีบทบาทในการรักษาสมดุลของ สกิน ไมโครไบโอม หรือระบบนิเวศผิวหนังเราค่ะ เพราะหากเรามี สกิน ไมโครไบโอมที่เป็นกรดทำให้เชื้อโรคที่เป็นอันตรายมาทำร้ายได้ยากขึ้น ส่งผลให้เรามีสุขภาพผิวที่ดีขึ้นค่ะ

 

หาก pH บนผิวเปลี่ยนแปลง 

        ปัจจุบันเราพบว่า ผิวหนังของคนเราเปลี่ยนแปลง หรือถูกรบกวนได้ง่าย ตั้งแต่ขั้นตอนการอาบน้ำเลยค่ะ เรายังพบอีกว่า ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุที่บรรจุภัณฑ์ให้เราทราบ ถึงค่า pH ทำให้เราลองสุ่มเช็คค่า pH แล้วได้พบว่า สบู่ก้อน สบู่เหลว ส่วนใหญ่มีค่าเป็นด่าง

        ถ้าหาก pH บนผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไป ส่งผลให้ผิวหนังเกิดความผิดปกติและแห้งตึงได้ หากผิวถูกทำร้าย ถูกรบกวนซ้ำๆ ส่งผลให้ผิวแย่ลงและเกิดปัญหาผิวต่างๆตามมาได้ง่ายค่ะ เช่น หากเราใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่าเป็นกรดสูง มีค่าต่ำกว่า pH 2.5 หรือ มีค่า pH 8 ขึ้นไป จะทำให้ผิวเกิดการแปรปรวน ส่งผลให้ผิวใช้เวลานานในการฟื้นฟูสภาพได้ เสี่ยงต่อปัจจัยที่อาจทำให้เกิดสิว สัญญาณของกลาก รอยแดง ความระคายเคือง ผิวบางลง กลายเป็นผิวแพ้ง่าย นั่นเป็นเหตุผลที่การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า pH สูงหรือต่ำเกินไปทุกวันค่ะ

แต่เราได้พบว่า ผิวที่เกิดการแปรปรวนเล็กน้อย มีผลดีต่อผิว เพราะผิวสามารถปรับสภาพคืนมาในระดับสมดุล ภายใน 1 ชั่วโมง เช่น การใช้ กรดผลัดเซลล์ผิวอย่าง AHA หรือ BHA ที่มีค่าเท่ากับ pH 3.6 หรือ ครีมกันแดด แบบ mineral sunscreen ที่มีค่า pH 7.5 กลับส่งผลที่ดี ทำให้เกิดการกระตุ้นสร้างสารสำคัญต่อผิว ทำให้ผิวนุ่ม กระจ่างใส เรียบเนียนขึ้นค่ะ 

        จะดีไม่น้อย หาก R&D นักเคมีเครื่องสำอาง นักวิทยาศาสตร์ ที่มีความเชี่ยวชาญ ที่ทราบดีอยู่แล้วว่าค่า pH ของผลิตภัณฑ์ดูแลผิวส่งผลต่อผิวของเราอย่างไร ดังนั้น ทางผู้ผลิตต้องร่วมมือกัน เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีกระบวนการผลิตที่ส่งผลต่อสุขภาพผิวที่ดีของผู้บริโภค และเราพบว่า มีหลายแบรนด์ที่ทำได้ดี เช่น ครีมอาบน้ำของยูเซอรีน 

        

ค่า pH ในสกินแคร์ไม่เท่ากัน ใช้ร่วมกันได้ไหม?

        เราขอยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ของ Paula’s Choice ที่ทางแบรนด์ได้แจ้งช่วงค่า pH เอาไว้ 

  • Cleansers: pH 4.5–7
  • Toners: pH 5–7
  • Sunscreens: pH 5–7.5
  • AHA and BHA Exfoliants: pH 3.2–3.9, with any reading between 3 and 4 considered most effective
  • Moisturizers: pH 5–7
  • Serums: pH 4–6
  • Vitamin C (ascorbic acid) products: pH 2.6–3.2
  • Retinol products: pH 4–6.

        ในความคิดเห็นของเรา มองว่า ผลิตภัณฑ์แต่ละตัว จะมีค่า pH ที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสารออกฤทธิ์ การดูดซึม และเพื่อต้องการให้เกิดขึ้นต่อกลไกของผิวหนัง เช่น การผลัดเซลล์ผิว การให้ความชุ่มชื้นผิว การปกคลุม(เหมือนฟิล์ม)เพื่อป้องกันผิว และการนำแต่ละตัวมาใช้ร่วมกันเพื่อเกิดการเสริมการออกฤทธิ์ต่อผิวได้ โดยไม่ให้เกิดผลซ้ำซ้อนกัน ในรูทีนขัน้ตอนการดูแลผิวของเรา เช่น คลีนเซอร์ โทนเนอร์ เซรั่ม ครีมบำรุง ครีมกันแดด 

        ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า pH สูงกว่า ไม่ได้ลดประสิทธิภาพของ ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า pH ที่ต่ำกว่า ดังนั้น เราสามารถใช้สกินแคร์เหล่านี้ร่วมกันได้โดยไม่ต้องกังวล ใช้ต่อเนื่องกันได้ทันทีโดยไม่ต้องรอเวลา(หมายถึงขั้นตอนรูทีนดูแลผิว)

SOURCE
  • Current Problems in Dermatology, August 2018, pages 1-10
  • The Journal of Clinical and Aesthetic Dermatology, July 2017, pages 33-39
  • Photochemistry and Photobiological Sciences, April 2010, pages 578-585
  • International Journal of Cosmetic Science, October 2006, pages 359-370
  • Skin Pharmacology and Physiology, July 2006, pages 296-301
  • ข้อมูล pH ของผลิตภัณฑ์แบรนด์ พอลล่า ชอยส์ จาก https://www.paulaschoice.com/expert-advice/skincare-advice/skin-care-myths/the-ultimate-guide-to-ph-and-your-skin
บทความลิขสิทธิ์ Copyright © SISTER NAN All rights reserved.