2 ส่วนผสมหลักที่ควรมีในครีมกันแดดที่ดี ข้อดี/ข้อเสีย TITANIUM DIOXIDE และ ZINC OXIDE

ครีมกันแดดมีหลากหลายยี่ห้อมากๆ เราจะรู้ได้ยังไงว่า ครีมกันแดดตัวนั้นจะมีประสิทธิภาพที่จะปกป้องผิวของเราได้ 

ครั้งนี้ เราจะมาพูดถึงส่วนผสมหลักที่สำคัญ ที่มีงานวิจัยรองรับมากมายว่ามันปกป้องผิวของเราได้ ปลอดภัยไม่ทำให้แพ้หรือระคายเคือง เหมาะกับทุกสภาพผิว ไม่ว่าจะผิวแพ้ง่าย ผิวมัน ผิวผสม ผิวแห้ง ผิวเป็นสิวง่าย หรือ ผิวแพ้ครีม 

2 ส่วนผสมหลักที่ควรมี คือ Zinc oxide (ZnO) , Titanium dioxide (TiO2).

เพราะอะไรเราจึงใช้ครีมกันแดดที่มี 2 ตัวนี้?


Level of UV protection
offered by each UV filter
in the FDA Sunscreen Monograph

ผ่านการรับรองประสิทธิภาพและความปลอดภัย

          จากผลทดสอบและผ่านการรับรองจาก FDA พบว่า จากบรรดาส่วนผสมทั้งหมดที่นิยมใส่ในครีมกันแดดประมาณ กว่า 16 ชนิด มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่ครอบคลุม UVAII, UVAI และ UVB ยังรวมถึง Visible Light คือ Zinc oxide (ZnO) , Titanium dioxide (TiO2)

เราจึงเห็นหลากหลายยี่ห้อที่มักจะมี 2 ส่วนผสมนี้มาคู่กันเสมอ นั่นเองค่ะ
มาทำความรู้จักกับแต่ละตัวกันดีกว่า ว่ามีข้อดี หรือข้อเสียอะไรหรือไม่

 

Zinc oxide : ซิงค์ออกไซด์

  • Non-comedogenic: ไม่ก่อให้เกิดสิว ไม่อุดตัน
  • ซิงค์ออกไซด์ จึงเหมาะมากๆ กับผู้มีสภาพผิวมัน มีสิว เนื่องจากปราศจากน้ำมันและไม่อุดตันรูขุมขน
  • ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีคุณสมบัติที่ช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองและรักษาบาดแผลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
  • ไม่ทิ้งคราบสีขาวหรือคราบมันบนผิว (เมื่ออยู่ในอนุภาคเล็ก)

 

Titanium dioxide : ไทเทเนียม ไดออกไซด์

  • Gentle on the skin: อ่อนโยนต่อผิว ลดการระคายเคือง ลดการอักเสบ จึงเหมาะกับผิวแพ้ง่าย ผิวแสบแดง หรือ มีปัญหาโรคผิวหนัง เช่น โรค rosacea และ eczema
  • Non-comedogenic: ไม่ก่อให้เกิดสิว ไม่อุดตัน เช่นเดียวกับซิงค์ออกไซด์
  • เหมาะกับทุกสภาพผิว

แนะนำครีมกันแดดที่มีส่วนผสม ซิงค์ออกไซด์ และไทเทเนียม ไดออกไซด์

SOURCE
  • FDA org. Sunscreen Drug Products for Over-The-Counter Human Use; Proposal to Amend and Lift Stay on Monograph, Docket No. FDA-1978-N-0018.

  • Dr.DeLeo. Sunscreen update from Dr. Vincent DeLeo, plus tick-borne diseases and the AAD on SGM health

  • Curtis Cole et al., Metal oxide sunscreens protect skin by absorption, not by reflection or scattering, Photodermatol Photoimmunol Photomed. 2016 Jan,32(1):5-10. doi: 10.1111/phpp.12214. 

  • Threes G Smijs et al., Titanium dioxide and zinc oxide nanoparticles in sunscreens: focus on their safety and effectiveness,Nanotechnol Sci Appl, 2011, 4: 95–112. doi: 10.2147/NSA.S19419.

  • Ruchira Wijesena, Beating the summer UV with nano sunscreens, critical points to know!: july 3, 2015.

  • Enteknomaterials.com, Why Choose Mineral UV Filters When Going to Market.

  • Cho et al., COMPARATIVE ABSORPTION, DISTRIBUTION, AND EXCRETION OF TITANIUM DIOXIDE AND ZINC OXIDE NANOPARTICLES AFTER REPEATED ORAL ADMINISTRATION, Particle and Fibre Toxicology 2013, 10:9, Site : particleandfibretoxicology.com/content/10/1/9.

บทความลิขสิทธิ์ Copyright © SISTER NAN All rights reserved.